เรื่องราวการเข้าร่วมโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของ สวนกสิกรรมธรรมชาติ ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ สีทา (Tam Seeta Natural Farm) โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นโครงการที่เกิดจากพระราชเสาวนีย์ ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ แห่งรัชกาลที่ ๙ ที่ให้ไว้ ณ บ้านโนนสวรรค์ ต.นาโพธิ์กลาง อ.โขงเจียม จ. อุบลราชธานี เมื่อ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
เป็นวิทยากรให้โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน: งานเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน
สวนกสิกรรมธรรมชาติ ไร่นาป่าผสมบ้านแม่ทำ สีทาได้เข้าร่วมโครงการ “ชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” กับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สุพรรณบุรี และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยจัดทำบ่อปลาตามมาตรฐานของโครงการร่วมกับนักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สุพรรณบุรี ที่บ้านแม่ทำ สีทา
ร่วมจัดทำบ่อเลี้ยงปลาตามมาตรฐานของโครงการ
|
เป็นวิทยากรสาธิตการขยายเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ
(EM)
ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ
“ชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
เขตอำเภอเดิมบางนางบวช
เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.
๒๕๕๖
|
สาธิตการทำอีเอ็มขยายที่
วษท.
สุพรรณบุรี
๑๖ ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๕๖
|
วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
นักศึกษาเข้าฝึกงาน: งานเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน
ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. ๒๕๕๖) ทางสวนกสิกรรมธรรมชาติ ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ สีทา ได้รับนักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สุพรรณบุรีเข้าฝึกงานจำนวน ๔ คน ระหว่างวันที่ ๑๔ ถึง ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยมีกิจกรรมเสริมที่สำคัญดังนี้
๑. ร่วมจัดทำโครงบ่อเลี้ยงกบ
นักศึกษาช่วยทำโครงบ่อกบ
|
นักศึกษาฝึกทำสบู่กรีเซอรีน
|
งานวิทยากรวิชาชีพด้านเศรษฐกิจพอเพียง ก.ศ.น. ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี: งานเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน
จัดอบรมการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก
ณ หมู่ที่ ๕ บ้านวังหน่อไม้ ตำบลนิคมกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
จัดทำบ่อปูพลาสติกสำหรับเลี้ยงปลาที่บ้านผู้เข้ารับการอบรม
|
จัดอบรมการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ (การเลี้ยงไก่เพื่อกินไข่)
ณ
หมู่ที่ ๖ บ้านหุบตาอ้น
ตำบลนิคมกระเสียว อำเภอด่านช้าง
จังหวัดสุพรรณบุรี เดือนมิถุนายน
พ.ศ.
๒๕๕๖
จัดอบรมการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ที่บ้านหุบตาอ้น
|
สาธิตการทำอีเอ็มขยายบ้านที่เข้าร่วมอบรมการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่
|
วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
งานหมอดินอาสา : งานเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน
ปัจจุบันสวนกสิกรรมธรรมชาติ ไร่นาป่าผสมบ้านแม่ทำ สีทายังไม่เปิดตัวอย่างเป็นทางการ กิจกรรมให้ความรู้กับบุคคลภายนอกที่จัดภายในพื้นที่ของสวนเองยังมีไม่มากนัก แต่อย่างไรก็ดีผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัครให้หน่วยงานราชการหลายหน่วย อาทิเช่น สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดสุพรรณบุรีในฐานะหมอดินอาสา, ก.ศ.น. ด่านช้างในฐานะอาสาสมัคร ก.ศ.น. และวิทยากรวิชาชีพของ ก.ศ.น. ด่านช้าง และล่าสุดได้เข้าร่วมเป็นวิทยากรอาสาสมัครของโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สุพรรณบุรี สำหรับกิจกรรมในรอบปีที่ผ่านมา พอสรุปได้ดังนี้
งานหมอดินอาสา
สาธิตการทำฮอร์โมนและสารกำจัดศัตรูพืช
|
จัดกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมกับสำนักงานพัฒนาที่ดิน จังหวัดสุพรรณบุรีในโครงการ “พัฒนาเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ชีวภาพของกลุ่มเดิมที่เข้มแข็ง ประจำปี ๒๕๕๖” ในฐานะหมอดินประจำหมู่บ้าน ณ หมู่ ๖ บ้านหุบตาอ้น ตำบลนิคมกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
เสริมการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ด้วย Biochar ถ่านชีวมวลเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน
เตาเผาขยะผลิตถ่านไบโอชาร์
|
ปรกติเศษถ่านหรือผงถ่านมักจะถูกทิ้งอย่างไม่รู้ค่า แต่ที่สวนกสิกรรมธรรมชาติ ไร่นาป่าผสมบ้านแม่ทำ สีทาจะใช่เศษถ่านหรือผงถ่านช่วยในการปรับปรุงบำรุงดินมานานแล้ว ตัวแม่ทำ สีทาเองก็มีประสบการณ์เกี่ยวกับการบำรุงดินด้วยถ่าน เนื่องจากสังเกตเห็นว่าข้าวโพดหรือพืชไร่อื่นๆ ที่ปลูกบนเตาเผาถ่านเก่าจะมีงอกงามดีกว่าบริเวณอื่นๆ ปัจจุบันการใช้ถ่านในการปรับปรุงบำรุงดินจะรู้จักกันในชื่อ ไบโอชาร์ (Biochar : Biomass + Charcoal) หรือ ถ่านชีวมวลเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน
ใส่วัสดุที่จะเผาเป็นถ่านไบโอชาร์ลงในถังสี
|
ที่สวนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสมบ้านแม่ทำ
สีทานอกจากจะนำเศษผงถ่านที่เหลือใช้จากครัวเรือนมาใช้ปรับปรุงดินแล้ว
ที่สวนยังไดัทำการผลิตถ่านชีวมวลเพื่อการปรับปรุงบำรุงดินจากกระบวนการเผาขยะโดยจัดทำเตาเผาขยะที่มีลักษณะเฉพาะขึ้น
โดยประกอบด้วย
ถังเหล็กตัดครึ่งเปิดด้านบนและด้านล่างสำหรับใช้เป็นตัวเตา
และถังสีที่เป็นถังเหล็กบางพร้อมฝาปิดเป็นส่วนผลิตถ่านชีวมวลเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน
คว่ำถังสีไว้ตรงกลางเตา
|
ใส่ขยะที่จะเผารอบเตา
แล้วจุดไฟเผาตามปรกติ
|
วิธีการเผาขยะและผลิตถ่านชีวมวลเพื่อการปรับปรุงดิน
ก่อนอื่นจะต้องนำวัสดุที่จะเผาเป็นถ่านใส่ในถังสีจนเต็มแล้วปิดฝา
แล้วนำไปควำไว้ตรงกลางเตาเผาขยะ
ควรจะนำอิฐบล็อกรองข้างล่างก่อน
จากนั้นนำขยะที่จะเผาใส่รอบๆ
ถังสีแล้วจุดไฟเผาขยะตามปรกติ
โดยปรกติจะเผาขยะ ๒
ครั้งวัสดุที่อยู่ในถังสีจะจะกลายเป็นถ่านเกือบทั้งหมด
ส่วนวัสดุที่อยู่นอกถังสีจะกลายเป็นขี้เถ้าทั้งหมด
ซึ่งสามารถใช้ปรับปรุงบำรุงดินได้เช่นเดียวกัน
ถ่านไบโอชาร์ที่ได้
|
การนำถ่านชีวมวลไปใช้ปรับปรุงบำรุงดิน
จะนำถ่านชีวมวลที่ได้ไปผสมกับปุ๋ยหมัก
หรือผสมกับดินที่ใช้เพาะปลูกพืช
รูพรุนในเนื้อถ่านจะช่วยดูดซับน้ำและแร่ธาตุอาหารพืช
และปลดปล่อยให้พืชนำไปใช้อย่างช้าๆ
เป็นการช่วยเก็บรักษาปุ๋ยให้คงอยู่นาน
ทั้งยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน
รูพรุนของถ่านยังเป็นแหล่งกักเก็บอากาศไว้ในดิน
ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นพิษกับพืชในดิน
ถ่านชีวมวลที่ได้จะมีสภาพเป็นด่าง
สามารถใช้ปรับปรุงดินที่มีสภาพเป็นกรด
แทนสารปรับปรุงดินจำพวกปูน
สามารถใส่ปริมาณมากได้โดยไม่มีผลเสีย
หรือทำให้ดินเป็นดานซีเมนต์
ซึ่งการใส่ถ่านลงในดินที่ใช้ในการเพาะปลูกเป็นการแก้ปัญหาโลกร้อนวิธีการหนึ่ง
ถ่านไบโอชาร์ทีได้นำมาผสมปุ๋ยหมักและใส่ลงดิน
|
วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
เปลี่ยนผ้าขี้ริ้วเป็นอุปกรณ์ให้น้ำพืช : ประดิษฐ์คิดค้น พัฒนาเครื่องมือ และเลือกใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่เหมาะสม
ผ้าขี้ริ้วพาดปากถังเพื่อให้น้ำต้นไม้
|
ที่สวนกสิกรรมธรรมชาติ ไร่นาป่าผสมบ้านแม่ทำ สีทา มีบางพื้นที่ที่ระบบน้ำยังทำได้ไม่ทั่วถึง วิธีการแก้ไขคือ จะนำถังน้ำไปตั้งไว้ที่โคนต้นไม่ แล้วใช้ผ้าขี้ริ้วพาดจากในถังน้ำลงไปที่พื้นที่ดิน น้ำจะค่อยๆ ซึมผ่านเนื้อผ้าไปที่โคนต้นไม้อย่างช้าๆ เป็นการให้น้ำต้นไม้แบบที่ใช้กันมาแต่โบราณ
วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
เลือกใช้ใบมีดเครื่องตัดหญ้าแบบหมุนอิสระ : ประดิษฐ์คิดค้น พัฒนาเครื่องมือ และเลือกใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่เหมาะสม
ใบมีดตัดหญ้าแบบหมุนได้อิสระ
|
ใบมีดตัดหญ้าที่ใช้กับเครื่องตัดหญ้าแบบสะพายส่วนใหญ่ ส่วนที่เป็นใบมีดจะยึดอยู่กับที่ แต่สำหรับที่สวนกสิกรรมธรรมชาติ ไร่นาป่าผสมบ้านแม่ทำ สีทา จะเลือกใช้ใบมีดตัดหญ้าแบบชนิดที่ใบมีดสามารถหมุนได้เป็นอิสระเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากใบมีดในรูปแบบดังกล่าวจะใช้กำลังในการตัดหญ้าน้อยกว่าใบมีดที่ยึดติดอยู่กับที่ และสามารถตัดหญ้าที่หนาแน่นและมีลำต้นขนาดใหญ่ได้โดยไม่ต้องเร่งเครื่องตัดหญ้ามากนัก ทำให้ช่วยลดการใช้พลังงานลงได้กว่าครึ่งหนึ่งของการใช้ใบมีดตัดหญ้าแบบยึดอยู่กับที่ สำหรับใบมีดที่ใช้จะมีทั่งแบบที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง และแบบที่สั่งซื้อจากแหล่งผู้ผลิตที่เคยได้รับรางวัลระดับชาติโดยตรง
วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ปรับปรุงการทำปุ๋ยหมักกองเป็นแบบกึ่งไม่กลับกอง : ประดิษฐ์คิดค้น พัฒนาเครื่องมือ และเลือกใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่เหมาะสม
กล่องปุ๋ยหมักทำใช้ในช่วงแรกๆ
|
ที่สวนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสมบ้านแม่ทำ
สีทาจะมีการฝึกฝนให้คนในบ้านคุ้นเคยกับการทำปุ๋ยหมักกอง
โดยนำเศษผักเศษอาหารที่เหลือทิ้งประจำวันมาทำเป็นวัสดุหมักปุ๋ย
ในช่วงแรกๆ การทำกองปุ๋ยหมักจะใช้ไม้ไผ่มาผ่าซีก
แล้วนำมาประกอบเป็นกล่องเปิดด้านบนและด้านล้าง
ขนาด กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร
สูง ๗๕ เซนติเมตร
วัสดุที่จะใช้หมักปุ๋ยจะนำมาใส่ที่ด้านบนของกล่องปุ๋ยหมัก
กองปุ๋ยหมักในรูปแบบดังกล่าวจะต้องมีการกลับกองเป็นระยะๆ
เพื่อให้วัสดุเปลื่อยยุ่ยเร็วขึ้น
โดยในการกลับกองปุ๋ยหมัก
จะทำได้ง่ายๆ เพียงยกกล่องไม้ไผ่ออก
แล้วตักกองปุ๋ยหมักไปใส่กล่องตามเดิม
ซึ่งปัญหาของกล่องหมักปุ๋ยแบบดังกล่าวคือไม้ไผ่ที่นำมาทำกล่องปุ๋ยหมักผุพังเร็ว
และจะต้องกลับกองปุ๋ย
ซึ่งปุ๋ยหมักแต่ละกองจะใช้เวลากลับกองเป็นชั่วโมง
กล่องปุ๋ยหมักที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ |
จากปัญหาดังกล่าวจึงได้ทำการปรับปรุงกล่องปุ๋ยหมักใหม่
โดยทำกล่องให้มีความคงทนมากขึ้นด้วยการใช้ถัง
๒๐๐
ลิตรมาเปิดด้านบนและด้านล่างแล้วตัดครึ่งใส่หูจับเพื่อให้สะดวกในการยกกรอบถังออกจากกองปุ๋ยหมัก
ส่วนวิธีการที่จะช่วยให้ไม่ต้องกลับกองบ่อยๆ จะใช้ท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
๓ นิ้วยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร
เจาะรูขนาดท่อ ๑ ๑/๒
นิ้วให้ทะลุเพื่อให้ท่อขนาดดังกล่าวสอดเข้าไปได้จำนวน
๔ รู โดยท่อพีวีซีขนาด ๓
นิ้วดังกล่าวจะใช้เป็นแกนกลาง
จากนั้นใช้ท่อพีวีซี ๑ ๑/๒
นิ้วยาว ๕๐ เซนติเมตรเจาะรูให้ทั่วจำนวน
๔ ท่อนสอดเข้าในท่อแกนกลางที่เตรียมไว้
นำชุดอุปกรณ์ทั้งหมดไปวางไว้ตรงกลางถังที่จะทำเป็นกล่องปุ๋ยหมัก
อุปกรณ์ที่ทำจากท่อพีวีซีดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นท่ออากาศช่วยระบายอากาศในกองปุ๋ยหมัก
ท่อ PVC เจาะรูสำหรับช่วยระบายอากาศในกองปุ๋ยหมัก |
วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
เลือกใช้เครื่องหยอดเมล็ดพืชแบบเดินตาม : ประดิษฐ์คิดค้น พัฒนาเครื่องมือ และเลือกใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่เหมาะสม
เครืองหยอดเมล็ดพืชแบบเดิมตามที่สั่งซื้อมาใช้งาน
|
นอกจากเครื่องเจาะปลูกพืชที่พัฒนาขึ้นเองดังข้างต้นแล้ว
สวนกสิกรรมธรรมชาติ ไร่นาป่าผสม
บ้านแม่ทำ
สีทายังได้ทำการสั่งซื้อเครื่องหยอดเมล็ดพืชแบบเดินตามมาใช้เพิ่มเติม
โดยเครื่องหยอดเมล็ดพืชดังกล่าวมีลักษณะเป็นลูกล้อ
และมีที่เจาะและหยอดเมล็ดพืชอัตโนมัติ
ซึ่งช่วยให้การหยอดเมล็ดพืชทำได้เร็วขึ้น
การสั่งซื้อเครื่องหยอดเมล็ดพืชดังกล่าวมาใช้
เป็นแนวคิดในการพึ่งตนเองและเลือกใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่เหมาะสมกับสภาพการทำการเกษตรของที่บ้านแม่ทำ
สีทา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)