รูปที่ ๑: ตะเกียงแอลอีดี ๔ โวลต์ชาร์จไฟ ดี.ซี. ๑๒ โวลต์ด้วยเรคกูเรเตอร์ ๗๘๐๕ |
จากประสพการณ์เรื่องการไม่มีไฟฟ้าใช้
ทำให้ได้มีโอกาสทดลองหลอดไฟให้แสงสว่างหลากหลายแบบ
และพบว่าหลอดไฟกลุ่มหลอดนีออนจะมีปัญหาเรื่องกินกระแสไฟมาก
และหลอดไฟจะเสียหากกระแสไฟในสายต่ำกว่า
๑๒ โวลต์ ซึ่งการที่กระแสไฟในสายต่ำกว่า
๑๒
โวลต์เป็นเรื่องปรกติของการใช้ไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน
ส่วนหลอดแอลอีดี ๑๒
โวลต์ที่มีขายในตลาดท้องถิ่น
จะไม่มีปัญหากับการตกของกระแสไฟ
แต่ต้องใช้หลายดวงจึงจะมีความสว่างเท่ากับหลอดนีออน
ซึ่งจะมีผลทำให้ใช้กระแสไฟมากเช่นเดียวกัน
ทำให้ใช้แสงสว่างได้ไม่ตลอดคืน
ในท้องตลาดจะมีแผงหลอดไฟฉุกเฉินแอลอีดีจำหน่าย
และมีราคาใกล้เคียงกับชุดหลอดนีออน
แผงหลอดไฟเหล่านี้จะมีแบตเตอรี่ในตัวเป็นแบตเตอรี่ขนาด
๔ โวลต์จำนวน ๑ หรือหลายลูกตามขนาดของแผง
แผงหลอดไฟเหล่านี้จะให้แสงสว่างดีกว่าหลอดแอลอีดี
๑๒ โวลต์ อัตราการใช้กระแสไฟของแผงไฟแอลอีดี
๔ โวลต์จะต่ำหลอดแอลอีดี
๑๒ โวลต์มาก ทำให้สามารถให้ความสว่างได้ตลอดคืน
แม้จะเปิดพร้อมๆ กันหลายดวง
รูปที่ ๒: แผงไฟแอลอีดีชาร์จไฟ ดี.ซ๊. ๑๒ โวลต์ด้วยอุปกรณ์ชาร์จโทรศัพท์มือถือสำหรับรถยนต์ |
แต่อย่างไรก็ดีแผงหลอดไฟเหล่านี้จะต้องชาร์จกับระบบไฟ
๒๒๐ โวลต์เท่านั้น
และส่วนใหญ่จะมีไม่ระบบชาร์จไฟจากระบบไฟ
๑๒ โวลต์ ยกเว้นแผงไฟแอลอีดีที่ชาร์จไฟรถยนต์ได้
และถ้าเราต่อแผงหลอดไฟเข้ากับระบบไฟ
๑๒ โวลต์โดยตรง ดวงไฟในแผงจะใหม้หมด
วิธีการแก้ปัญหาสามารถทำได้
๒ วิธี คือ ใช้เรคกูเรเตอร์เบอร์
๗๘๐๕ แปลงไฟจาก ๑๒ โวลต์และเป็น
๕ โวลต์
หรือต่อไฟจากอุปกรณ์ชาร์จโทรศัพท์มือถือสำหรับไฟรถยนต์เข้าที่ขั้วแบตเตอรี่ลูกสุดท้ายของดวงไฟ
วิธีการนี้เป็นการชาร์จไฟตลอดเวลา
จากประสพการณ์พบว่าถ้าไฟในแบตเตอรี่ของแผงไฟเต็มจะไม่มีการชาร์จต่อ
แต่อย่างก็ดีวิธีการนี้จะใช้ไม่ได้กับแผงไฟแอลอีดีที่มีแบตเตอรรี่เพียงลูกเดียว
สำหรับเรคกูเรเตอร์
๗๘๐๕ สามารถหาซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์อิเลคทอนิกทั่วไป
ควรจะสอบถามวิธีต่อสายไฟจากทางร้านด้วย
มีเงื่อนไขสำคัญในการต่อระบบชาร์จไฟสำหรับแผงไฟแอลอีดีดังกล่าว
คือห้ามต่อสายชาร์จไฟ ๒๒๐
โวลต์ และไฟจากแผงโซลาร์เซลล์พร้อมกัน
ให้เลือกกระทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น