การใช้ประโยชน์จากน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพที่ใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพเป็นหัวเชื้อของที่สวนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสมบ้านแม่ทำ
สีทาประสพผลสำเร็จเป็นอย่างดี
จนมีหลายครั้งที่เห็นถึงความมหัศจรรย์ของน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพที่ใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพเป็นหัวเชื้อดังกล่าว
ยกตัวอย่างเช่น ที่ส่วนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสมบ้านแม่ทำ สีทา
จะมีการปลูกสะตอไว้จำนวนหนึ่ง
โดยปรกติสะตอจะใช้เวลา ๗
ถึง ๑๐ ปีจึงจะให้ผล
แต่ที่ส่วนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสมบ้านแม่ทำ
สีทาสะตออายุเฉลี่ยประมาณ
๔ ปีก็จะเริ่มให้ผล
เนื่องจากที่ส่วนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสมบ้านแม่ทำ สีทา
จะใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพลาดลดโคนต้นเป็นประจำ
อีกตัวอย่างหนึ่งคือ
ที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
จะมีแตงกวาพันธุ์หนึ่ง
รู้จักกันในชื่อของแตงกวาโบราณ
หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า
“แตงคนกับข้าว”
หมายถึงเวลาปลูกจะหยอดเมล็ดไปพร้อมกับการปลูกข้าวโดยเฉพาะข้าวไร่
เป็นแตงกวาพันธุ์หนัก
และมีผลขนาดใหญ่
รับประทานได้ทั้งผลอ่อนผลแก่
ผลอ่อนจะเหมือนแตงกวาทั่วไปแต่รสชาติดีกว่า
ส่วนผลแก่ลูกจะสีเหลืองส้ม
ชาวบ้านจะนำเนื้อของแตงกวาไปแกง
นิยมแกงกับไก่ป่าหรือไก่บ้าน
แตงกวาชนิดนี้ปรกติจะให้ผลผลิตปีละครั้งคือ
ช่วงหน้าหนาว ตั่งแต่ปลายเดือนตุลาคมเป็นไป
การปลูกจะเริ่มปลูกไปพร้อมๆ
กับการปลูกข้าว ถ้าปลูกในช่วงอื่นๆ
แตงชนิดนี้จะไม่ออกดอก
แต่เมื่อช่วงหลังเกี่ยวข้าวปี
พ.ศ.
๒๕๕๖
ที่ผ่านมาที่สวนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสมบ้านแม่ทำ
สีทาได้ทำการปลูกพืชหมุนเวียนตามปรกติ
คือปลูกฟักทอง,
แตงไท,
มะเขือเทศเล็ก,
กระเจี๊ยบเขียวปนกัน
ปรากฏว่ามีเมล็ดของแตงชนิดนี้ปะปนอยู่ด้วย
เถาแตงขึ้นปะปนกับพืชอื่นๆ
แต่เนื่องจากแปลงที่ปลูกพืชดังกล่าว
จะมีการนำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพไปฉีดพ่นเป็นประจำ
ทำให้แตงกวาชนิดนี้ติดดอกและมีผลให้สามารถนำไปจำหน่ายได้ในช่วงเดือนพฤษภาคม
ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องแปลกประหลาดของผู้คนในย่านนี้
บทความต่อเนื่อง
:
- จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพกับกิจกรรมหลักด้านการเกษตร
- การทำปุ๋ยหมักกอง
- ขั้นตอนการปลูกพืช
- เข้าสู่ระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP)