ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
|
คนไทยส่วนใหญ่จะได้มีโอกาสเห็นภาพปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
และได้มีโอกาสได้ยินได้ฟังคำอธิบายเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าว
แต่ผู้คนส่วนใหญ่ยังคงเข้าใจผิดๆ
ว่าการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
คือการอยู่เฉยๆ ทำแต่พอกินพอใช้
ใช้ชีวิตไปวันๆ ไม่ต้องดิ้นรนขวนขวายอะไร
ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง
ด้วยความตั้งใจในการที่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง
จึงได้พยายามศึกษาค้นคว้าทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจพอเพียง
ซึ่งก็ได้พบว่า ระบบเศรษฐกิจพอเพียง
จะต้องประกอบด้วยระบบเศรษฐกิจ
๒ ระบบ คือระบบเศรษฐกิจแบบการค้า
และระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง
ประกอบเข้าด้วยกัน
ดังภาพจำลองในรูปถัดไปขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้
ส่วนของระบบเศรษฐกิจการค้า
คือ จะต้องมีอาชีพ
หรือมีกิจการงานที่สามารถทำรายได้มาจุนเจือครอบครัวและพัฒนาอาชีพให้ก้าวหน้าต่อไปได้
ส่วนของระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง
หมายถึง กิจการงานใดๆ
ที่ทำเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน
โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อ
หรือซื้อวัตถุดิบมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใช้ในครัวเรือน
ปาล์มน้ำมันสามารถขายผลผลิต
และหีบน้ำมันไว้ใช้ในครัวเรือนได้
|
การปลูกป่า
๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง
จะสอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสมบูรณ์
คือจะมีผลผลิตที่สามารถใช้บริโภคในครัวเรือน
และส่วนที่เหลือสามารถจำหน่วยเป็นรายได้ได้
ยังไม่รวมถึงการเลี้ยงสัตว์
และการทำประมงเพื่อบริโภคในครัวเรือน
ปลูกพืชหลายชนิดในแปลงปลูกพืชหมุนเวียน
|
ที่สวนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสมบ้านแม่ทำ สีทา
จะมีผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลาย
คือจะพยายามปลูกพืชหลายๆ
ชนิดในพื้นที่เดียวกัน
เช่นในแปลงปลูกพืชหมุนเวียน
จะปลูกฟักทอง,
แตงไท,
มะเขือเทศเล็ก,
กระเจี๊ยบเขียว,
ข้าวโพดข้าวเหนียว
หรือข้าวโพดหวาน รวมกัน
พืชบางชนิดจะไม่ได้หวังผลผลิต
แต่จะใช้เป็นเครื่องเบี่ยงเบนความสนใจของศัตรูพืช
เช่นแตงไท
ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายจากการทำลายของศัตรูพืชผลโดยรวมได้ดี
หนูเจาะกินแตงไท
แต่ไม่สนใจพืขอื่นๆ
|
สำหรับการปลูกพืชหมุนเวียน
จะเน้นทำเพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นหลักก่อน
ส่วนที่เหลือจากการบริโภค
บางส่วนจะส่งให้พ่อค้าคนกลาง
บางส่วนจะนำไปจำหน่ายเองในตลาดนัดใกล้บ้าน
เป็นผลผลิตที่ปลอดสารพิษทั้งหมด
นำผลผลิตไปจำหน่ายในตลาดนัดใกล้บ้าน
|