เรื่องราวการเข้าร่วมโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของ สวนกสิกรรมธรรมชาติ ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ สีทา (Tam Seeta Natural Farm) โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นโครงการที่เกิดจากพระราชเสาวนีย์ ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ แห่งรัชกาลที่ ๙ ที่ให้ไว้ ณ บ้านโนนสวรรค์ ต.นาโพธิ์กลาง อ.โขงเจียม จ. อุบลราชธานี เมื่อ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558
สารบัญบทความ ชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี 2
ชื่อเรื่องบทความ
เข้าสู่ชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี 2
บทนำ::ชีววิถึเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี 2
บทที่ 1 กิจกรรมชีววิถี
ก. ด้านการเพาะปลูกพืช
การปฎิบัติงานเกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์ ที่มีประสิทธิ์ภาพกับพืชที่ปลูก
ข. ด้านการเลี้ยงสัตว์
ค. ด้านประมง
ง. ด้านสิ่งแวดล้อม
จ. ความเหมาะสม สถานที่ ภูมิทัศน์
บทที่ ๒ เป็นแบบอย่าง มีผลผลิต สามารถพึ่งตนเองได้
บทที่ ๓ มีการนำหรือคิดค้นนวัตกรรม ภูมิปัญญามาใช้
บทที่ ๔ การเผยแพร่ สร้างเครือข่าย ขยายสู่ชุมชน
วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558
บทที่ ๔ การเผยแพร่ สร้างเครือข่าย ขยายสู่ชุมชน
-ทำบล็อก
biological-way-in-my-life.blogsport.com
รูป
๔-๑
ทำเว็บบล็อกเสนอข้อมูลการเข้าร่วมโครงการชีววิถีฯ
|
ในช่วงรอบปีที่ผ่านมา
ผู้จัดทำ ได้จัดทำเว็บไซต์โดยใช้พื้นที่ฟรี นำเสนอข้อมูลการเข้าร่วมโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยังยืนของสวนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ สีทา
ในชื่อ “ชีววิถีกับชีวิต”
(biological-way-in-my-life.blogsport.com)
โดยนำเนื้อหาในเอกสารนำเสนอเกี่ยวกับโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนดังกล่าว ไปโพสต์ใส่ไว้ในเว็บไซต์ดังกล่าว
โดยมีคนเข้าดูข่าวสารแล้วไม่น้อยกว่า
๕๐๐ ครั้ง
-เป็นวิทยากรในโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
รูป
๔-๒
ปฏิบัติการทำบ่อเลี้ยงปลาบ้านพุกร่าง
|
ในรอบปีที่ผ่านมา
ผู้จัดทำได้มีโอกาสเป็นวิทยากรของโครงการชีววิถึเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน
๓ หมู่บ้านได้แก่ หมู่บ้านหนองขาม
ต. หนองขาม
อ.หนองหญ้าไซ
จ. สุพรรณบุรี
ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๐
มิถุนายน, หมู่บ้านพุกร่าง
ต.หนองมะค่าโมง
อ.ด่านช้าง
จ. สุพรรณบุรี
ระหว่างวันที่ ๒๖-๒๗
มิถุนายน และหมู่บ้านโคกโฮ่
ต.หนองกระทุ่ม
อ.เดิมบางนางบวช
จ. สุพรรณบุรี
ระหว่างวันที่ ๓-๔
กรกฎาคม ตามลำดับ
รูป
๔-๓
อบรมการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพที่บ้านพุกร่าง
|
บทที่ ๓ มีการนำหรือคิดค้นนวัตกรรม ภูมิปัญญามาใช้
-ระบบเติมจุลินทรีย์ไปกับน้ำ
รูป
๓-๑
ระบบเติมจุลินทรีย์และปุ๋ยไปกับน้ำ
|
แต่เดิมการฉีดพ่นจุลินทรีย์ในพื้นที่ทำการเกษตรของสวนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ สีทา
จะใช้วีธีใส่ถังเป้สะพายฉีดพ่น
สำหรับปีนี้ทางสวนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ
สีทาได้ทำการปรับระบบสูบน้ำใหม่
จึงได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์ให้ปุ๋ยไปกับน้ำเพิ่มเติม
สำหรับเติมจุลินทรีย์
หรือปุ๋ยไปกับน้ำที่รดต้นไม้
ระบบยังไม่สมบูรณ์
โดยจะทำการติดตั้งมิเตอร์น้ำเพิ่ม
เพื่อให้ใช้ตรวจสอบปริมาณจุลินทรีย์หรือปุ๋ยที่ไหลไปกับน้ำ
วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558
บทที่ ๒ เป็นแบบอย่าง มีผลผลิต สามารถพึ่งตนเองได้
-ใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์
รูป
๒-๑
ใช้ไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์
|
ที่สวนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ สีทา
ไม่ได้ใช้ไฟฟ้าจากระบบมากว่า
๓ ปีแล้ว แต่ใช้ไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ในกิจกรรมต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นการสูบน้ำทางการเกษตร,
สูบน้ำใช้,
ให้แสงสว่างยามค่ำคืน,
ดูทีวี
รวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย
ปัจจุบันปริมาณไฟฟ้าที่ได้ถือว่าเพียงพอสำหรับการใช้งานเท่าที่จำเป็น
ในอนาคตจะเพิ่มจำนวนแผงโซลาร์เซลล์มีสามารถใช้ไฟฟ้าได้มากขึ้น
และมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น ดูเพิ่มเติมที่ "ชีวิต 12 โวลต์"
-ระบบสูบน้ำด้วยโซลาร์เซลล์
รูป
๒-๒
ปั้มน้ำพลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์
|
ที่สวนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ สีทา
ได้จัดทำระบบสูบน้ำใช้และน้ำสำหรับการเกษตร
เป็นการดัดแปลงปั้มชักขนาดท่อ
๑ นิ้วโดยใช้มอเตอร์รถจักรยานไฟฟ้าขนาด
๓๖๐ วัตต์ ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง
๒๔ โวลต์ มอเตอร์สั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ตราคาประมาณ
๒,๕๐๐ บาท
ใช้สูบน้ำจากเขื่อนห้วยท่าเดื่อ
๒ มาใช้ในสวน
และสูบน้ำมาพักที่โอ่งพักเพื่อให้เป็นน้ำใช้ภายในบ้าน ดูเพิ่มเติมที่นี่
-การทำปุ๋ยหมักกอง
รูป
๒-๓
กล่องหมักปุ๋ยหมักกองจากเศษอาหารในครัวเรือน
|
ที่สวนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ สีทา
จะเน้นการทำปุ๋ยหมัก
ทั้งแบบหมักกอง,
โบกะฉิ และน้ำหมักชีวภาพ
ซึ่งในการทำปุ๋ยหมักกอง
จะใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการช่วยย่อยสลายกองปุ๋ยหมัก
โดยจะนำน้ำจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพที่ขยายเชื้อมาลาดกองปุ๋ยเป็นระยะๆ
จนกว่าปุ๋ยหมักจะใช้การได้
-การทำอีเอ็มขยาย
ปู่ พ่อ ลูก
ป
๒-๔
ถังอีเอ็มขยายลูกในระบบขยายเชื้อ
ปู่ พ่อ ลูก
|
ที่สวนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ สีทา
ได้จัดทำการขยายเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ
ให้เพียงพอต่อการใช้งาน
โดยใช้ระบบการขยายเชื้อแบบปู่ พ่อ ลูก โดยใช้ถังหมักจำนวน
๕ ถัง โดยถังที่ ๑ เป็นถังปู่
ถังที่ ๒ เป็นถังพ่อ ถังที่
๓, ๔ และ
๕ เป็นถังลูก
การขยายเชื่อจะเริ่มจากนำจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ
1 ลิตร
มาขยายเชื้อในถัง ปู่
แล้วนำเชื้อที่ขยายจากถังปู่มา
๑ ลิตร ขยายเป็นถังพ่อ
จากนั้นทำเชื้อที่ขยายจากถังพ่อมาขยายเป็นถังลูกทีละถัง
แล้วนำจุลินทรีย์ที่ได้จากการขยายเชื้อถังลูกไปใช้เริ่มจากถังลูกถังที่
๑ พอหมดถัง
ก็จะนำเชื้อจากถังพ่อมาขยายต่อในถังลูกใบที่
๑ แล้วใช้เชื้อที่ขยายจากถังที่
๒ แทนจนหมด ทำซ้ำๆ
ลักษณะเดียวกันนี้เป็นวัฏจักร
จะทำให้ได้จุลินทร๊ย์ที่มีประสิทธิภาพที่เพียงสำหรับการใช้ประโยชน์ภายในกิจการ
-พัฒนาโปรแกรมบัญชีครัวเรือนไว้ใช้เอง
รูป
๒-๔
ปรแกรมบัญชีครัวเรือนที่จัดทำขึ้นใช้บันทึกรายการรับ-จ่ายของครัวเรือน
|
ที่สวนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสมบ้านแม่ทำ สีทา
จะทำบัญชีครัวเรือนเป็นประจำโดยใช้แบบฟอร์มบัญชีที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์นำมาเผยแพร่
ช่วงแรกๆ จะทำบนกระดาษทำการ
ต่อมาจึงได้พัฒนาเป็นแอปพลิเคชันที่ทำงานบนโปรแกรม
Calc ของโปรแกรมชุดสำนักงาน
LibreOffice
ซึ่งเป็นโปรแกรมชุดสำนักงานที่แจกจ่ายให้ใช้งานได้ฟรีโดยไม่ต้องเสียค่าสิทธิ์การใช้งาน
โดยใช้ภาษาโปรแกรมที่มีชื่อว่า
Star Basic ในการพัฒนาแอปพลิเคชันดังกล่าว
แม้โปรแกรมบัญชีครัวเรือนที่จัดทำจะยังไม่สมบูรณ์
คือยังทำงานได้ไม่ครบทุกฟังก์ชัน
แต่ก็สามารถใช้บันทึกรายการบัญชีและข้อมูลต่างๆ
ได้ตามที่ต้องการใช้งาน
วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558
จ. ความเหมาะสม สถานที่ ภูมิทัศน์::กิจกรรมชีววิถี
แต่เดิมทางสวนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ สีทา
จะทำน้ำหมักชีวภาพใส่ถังพลาสติกปิดฝาตั้งไว้กระจายอยู่รอบบ้าน
ในปีนี้จึงได้จัดทำซุ้มขึ้น
และได้นำถังหมักสารจุลินทรีย์ชีวภาพที่กระจัดกระจายอยู่
มารวมไว้ด้วยกัน
ทำให้สะดวกในการปฏิบัติงาน
และสะดวกในการติดตั้งป้ายคำแนะนำต่างๆ
รูป
๑-๒๐
เดิมถังหมักสารจุลินทรีย์ชีวภาพจากวางอยู่รอบบ้าน
|
รูป
๑-๒๑
ซุ้มรวมน้ำหมักชีภาพ
|
วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558
ง. ด้านสิ่งแวดล้อม::กิจกรรมชีววิถี
รูป
๑-๑๗
ถังอีเอ็มขยายในห้องน้ำ
|
ที่บ้านแม่ทำ
สีทามีการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพกับสิ่งแวดล้อมรอบบ้านมาตั้งแต่ช่วงที่ยังไม่ทำไร่นาป่าผสม
ปัจจุบันนอกจากจะมีการขยายเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพด้วยน้ำและกากน้ำตาลตามปรกติแล้ว
ยังมีคงการทำการขยายเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพด้วยน้ำซาวข้าวผสมกากน้ำตาลอยู่
และใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพที่ขยายเชื้อในจุดสำคัญๆ
เช่น ใช้ลาดนอกชานแถบครัวก่อนและหลังล้างจาน,
ใช้ผสมน้ำถูพื้น,
ใช้ลาดทำความสะอาดห้องน้ำ
หรือใช้บำบัดน้ำใช้ที่สูบมาจากเขื่อนมาพักไว้ก่อนนำไปใช้
เป็นต้น
รูป
๑-๑๘
ถังอีเอ็มขยายน้ำซาวข้าวในครัว
|
รูป
๑-๑๙
ใช้บำบัดน้ำในโอ่งพักน้ำก่อนนำไปใช้
|
ค. ด้านประมง::กิจกรรมชีววิถี
รูป
๑-๑๖
กบในบ่อปลาดุก
|
ที่สวนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ สีทา
มีการเลี้ยงปลาดุก
และกบในบ่อเดียวกัน จำนวน
๓ บ่อ โดยเป็นการเลี้ยงไว้บริโภคในครัวเรือน
และจำหน่ายเป็นรายได้
แต่จะเน้นการบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก
เนื่องจากพื้นที่ของส่วนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่น่าป่าผสม บ้านแม่ทำ
สีทาอยู่ห่างไกลตลาด
ในการบำบัดน้ำสำหรับการบ่อเลี้ยงปลาดุกและกบ
จะใช้วิธีเติมจุลินทรีย์ที่มีประสิทธืภาพที่ขยายเชื้อประมาณ
๑๐ ลิตรใส่บ่อปลาทุกๆ สัปดาห์
ซึ่งนอกจากจะช่วยให้น้ำไม่มีกลิ่นเหม็น
และยังช่วยให้เนื้อปลาไม่มีกลิ่นสาปด้วย
ปลาดุกที่เลี้ยงในบ่อปูพลาสติก
จะจับค่อนข้างยาก
เนื่องจากต้องระวังผ้าพลาสติกขาด
วิธีหนึ่งที่สวนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ
สีทาใช้จับปลาดุกมาปริโภค
คือใส่อาหารปลาดุกไว้บนถาดพลาสติก
และวางไว้บนแผ่นโฟม
ปลาดุกจะขึ้นมากินจนอิ่มแล้วไม่ยอมลงน้ำ
โดยจะนอนอยู่บนถาดวันละตัวหรือสองตัว
ซึ่งเพียงพอสำหรับการบริโภคในครัวเรือน
รูป
๑-๑๖
ปลาดุกบนถาดพลาสติก
|
วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558
ข. ด้านการเลี้ยงสัตว์::กิจกรรมชีววิถี
รูป
๑-๑๓
ไก่แจ้รวมตัวกันกินอาหารในตอนเย็น
|
ที่สวนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ สีทา
มีการเลี้ยงสัตว์เพียงชนืดเดียว
คือไก่พื้นเมือง หรือไก่แจ้
สำหรับไว้บริโภคในครัวเรือน
และจำหน่ายเป็นรายได้
เป็นการเลี้ยงแบบเปิด
โดยฝึกให้เข้านอนในเล้าช่วงเวลากลางคืน
รูป
๑-๑๔
ไก่แจ้รวมกันนอนในเล้าเวลากลางคืน
|
สำหรับการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองดังกล่าว
จะมีกิจกรรมหลักๆ คือ
ใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพที่ขยายเชื้อไว้จำนวน
๑ ลิตร ผสมน้ำ ๑๐ ลิตร ราดรดพื้นคอก
เพื่อกำจัดกลิ่น และช่วยย่อยสลายมูลไก่
และหยดผสมน้ำให้ไก่ดื่ม
รูป
๑-๑๕
อีเอ็มขยายผสมน้ำให้ไก่กิน
|
วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558
การปฎิบัติงานเกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์ ที่มีประสิทธิ์ภาพกับพืชที่ปลูก::กิจกรรมชีววิถี
การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการใช้จุลินทร์ที่มีประสิทธิภาพกับการเพาะปลูกพืช
ของส่วนกสิกรรมธรรมชาติ
ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ สีทา
มีหลายลักษณะดังนี้
รูป
๑-๗
ถังน้ำหมักชีวภาพ สำหรับใช้ในการเกษตร
|
รูป
๑-๘
ทำน้ำหมักกลอย สำหรับไล่หนอนและแมลง
|
รูป
๑-๙
ทำหัวเชื้อปุ๋ยหมักกอง
|
๒.
ใช้เป็นหัวเชื้อปุ๋ยหมักกองจากเศษอาหาร
เพื่อผลผลิตดินเพาะปลูกต้นไม้
รูป
๑-๑๐
ฉีดพ่นจุลินทรีย์ลงพื้นดิน
ก่อนเตรียมการเพาะปลูก
|
๓.
ใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพที่ขยายเชื้อ
และจุลินทรีย์น้ำหมักเศษอาหาร
อย่างละ 1 ลิตร
ผสมน้ำ 15
ลิตรฉีดพ่นลงพื้นดินก่อนการเตรียมการเพาะปลูกพืช
๔.
ใช้จุลินทรีย์น้ำหมักปลา
หรือ จุลินทรีย์น้ำหมักเศษอาหาร
หรือสารสกัดไล่แมลง ผสมน้ำ
ฉีดพ่นทางใบ สำหรับพืชหมุนเวียน
(ข้าวโพด,
ฟักทอง,
ข้าวไรซ์เบอรี่)
เพื่อบำรุงต้น
และกระตุ้นการออกดอก ทุกๆ
15 วันตลอดช่วงอายุการเพาะปลูก
รูป
๑-๑๑
น้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพฉีดพ่นกอไผ่
|
รูป
๑-๑๒
น้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ
ฉีดพ่นใบและลำต้นปาล์ม
|
๕.
ใช้จุลินทรีย์น้ำหมักปลาผสมน้ำฉีดพ่นลำต้น
กอไผ่ และต้นปาล์ม
เพื่อช่วยเพิ่มน้ำหนักทลายปาล์ม
บำรุงลำต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)